เที่ยวไทย

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กระบี่ - หมู่เกาะพีพี

กระบี่ - หมู่เกาะพีพี

แหล่งท่องเที่ยว:


เกาะลิงครับในช่วงสงกรานต์คนเยอะเลย<br>
เกาะลิงครับในช่วงสงกรานต์คนเยอะเลย
<br>
น้ำใส  ทะเลสวยที่หาดมาหยา  ตอนไปเที่ยวที่เกาะพีพีค่ะ <br>ดูแล้วสบายตาสบายใจดี  ยังอยากไปอีกเลย ถ้ามีโอกาสต้องไป<br>อีกแน่นอนค่ะ<br>
น้ำใส ทะเลสวยที่หาดมาหยา ตอนไปเที่ยวที่เกาะพีพีค่ะ
ดูแล้วสบายตาสบายใจดี ยังอยากไปอีกเลย ถ้ามีโอกาสต้องไป
อีกแน่นอนค่ะ

อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา - หมู่เกาะพีพี

ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองทะเล ตำบลไสไทย ตำบลอ่าวนาง และตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีพื้นที่ 242,437 ไร่ เป็นพื้นน้ำประมาณ 200,849 ไร่ มีป่าไม้ 3 ประเภท คือ ป่าดงดิบชื้น พบเห็นได้บริเวณเขาสูงชันบริเวณเขาหางนาค เขาอ่าวนาง ป่าชายเลน จะพบบริเวณคลองแห้ง ใกล้ที่ทำการอุทยานฯ คลองย่านสะบ้า และด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณสุสานหอย 40 ล้านปี และป่าพรุ ที่พบต้นเสม็ดขึ้นอยู่อย่างสมบูรณ์ มีสัตว์ต่าง ๆ ที่พบในอุทยานฯ ได้แก่ นกโจรสลัด เหยี่ยวแดง นกออก นกนางแอ่นกินรัง หมูป่า ลิง และค่าง สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวคือเดือนพฤษภาคม - เดือนเมษายน
อุทยานฯ มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ

หาดนพรัตน์ธารา อยู่ห่างจากตัวเมือง 17 กิโลเมตร ชายหาดมีความยาวเกือบ 3 กิโลเมตร เดิมชาวบ้านเรียกว่า “หาดคลองแห้ง” ทั้งนี้เพราะเมื่อน้ำลง น้ำคลองที่ไหลมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอดกลายเป็นหาดทรายยาวเหยียดทอดลงไปในทะเล บรรจบกับเกาะเขาปากคลอง บริเวณหาดเป็นทรายละเอียดปะปนด้วยเปลือกหอยเล็ก ๆ ประดับด้วยทิวสนเรียงรายตามชายทะเลยาวเหยียด เมื่อน้ำลงจนแห้งสามารถเดินไปยังเกาะเล็ก ๆ บริเวณหน้าชายหาดได้ นอกจากนั้นบริเวณชายหาดมีที่พักของอุทยานฯ บริการแก่นักท่องเที่ยว โทร. 0 7563 7200 จากที่ทำการอุทยานฯ เดินเท้าไปตามชายหาดด้านทิศตะวันตก มีบังกะโลหลายแห่งให้บริการนักท่องเที่ยว ชายหาดบริเวณนี้ค่อนข้างเงียบสงบ เป็นสถานที่ที่ชาวกระบี่นิยมไปเที่ยวพักผ่อนในวันสุดสัปดาห์ ยังไม่มีถนนตัดเลียบชายหาด
 
สุสานหอย อยู่บริเวณชายทะเลบ้านแหลมโพธิ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปหาดนพรัตน์ธารา เมื่อถึงบ้านไสไทย จะมีป้ายบอกทางไปสุสานหอย บริเวณที่เป็นสุสานหอยแห่งนี้ เดิมเป็นหนองน้ำจืดขนาดใหญ่ มีหอยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหอยขม มีขนาดราว 2 เซนติเมตร ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณพื้นผิวโลก น้ำทะเลไหลเข้ามาท่วมบริเวณหนองน้ำจนหมด ทำให้ธาตุหินปูนในน้ำทะเลหล่อเปลือกหอยใต้น้ำจนเป็นเนื้อเดียวกัน กลายเป็นแผ่นหินแข็งที่เรียกว่า Shelly Limestone หนาประมาณ 40 เซนติเมตร เมื่อแผ่นดินบริเวณนี้ถูกยกตัวขึ้นสูง ซากฟอสซิลเหล่านี้จึงปรากฏให้เห็นเป็นลานหินกว้างใหญ่ยื่นลงไปในทะเล จากการคำนวณหาอายุทางธรณีวิทยาพบว่า ฟอสซิลนี้มีอายุราว 40 ล้านปี
อ่าวนาง อยู่ห่างจากหาดนพรัตน์ธารา ตามถนนเลียบชายทะเลระยะทาง 6 กิโลเมตร เป็นชายหาดยาว มีที่พักร้านค้า บริษัทนำเที่ยว บริการหลายแห่ง ทิวทัศน์โดยรอบสวยงามแปลกตาด้วยภูเขาหินปูนตระหง่าน จากอ่าวนางสามารถเช่าเรือไปเที่ยวชายหาดด้านทิศตะวันออกได้แก่ หาดไร่เล ซึ่งเป็นหาดทรายสีขาวละเอียด และ หาดถ้ำพระนาง ซึ่งมีถ้ำหินงอกหินย้อยและกิจกรรมปีนหน้าผาที่น่าตื่นเต้น ท้องทะเลในบริเวณอ่าวนางมีเกาะใหญ่น้อยกว่า 83 เกาะ บางเกาะมีรูปร่างประหลาดคล้ายรองเท้าบู๊ท เรือสำเภา หัวนก เกาะที่มีหาดทรายสวยงามและคนนิยมไปเที่ยวเล่นน้ำชมปะการังได้แก่ เกาะปอดะ เกาะหม้อ และเกาะทัพ
หมู่เกาะปอดะ อยู่ทางทิศใต้ของอ่าวนาง ห่างจากฝั่งประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาว น้ำทะเลใส บริเวณชายฝั่งของเกาะจะมองเห็นแนวปะการังหลากชนิดที่ยังสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งดึงดูดของนักท่องเที่ยวให้เที่ยวชมได้เกือบตลอดปี และเป็นจุดที่ตกปลาได้ดีเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากลมมรสุมมากนัก สามารถเช่าเรือได้จากบริเวณอ่าวนาง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 25 นาที ใกล้ ๆ กับเกาะปอดะเป็นที่ตั้งของเกาะทัพ เกาะหม้อ เกาะหัวขวาน เกาะไก่ ซึ่งมีสันทรายเชื่อมต่อกันสวยงามมองเห็นได้เวลาที่น้ำลง
 
หมู่เกาะพีพี เป็นหมู่เกาะกลางทะเล อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 42 กิโลเมตร เดิมชาวทะเลเรียกหมู่เกาะนี้ว่า “ปูเลาปิอาปิ” คำว่า “ปูเลา” แปลว่าเกาะ คำว่า “ปิอาปิ” แปลว่าต้นไม้ทะเลชนิดหนึ่งจำพวกแสม และโกงกาง ต่อมาเรียกว่า “ต้นปีปี” ซึ่งภายหลังกลายเสียงเป็น “พีพี” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรแห่งบุปผาใต้สมุทรนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวหมู่เกาะนี้ส่วนใหญ่มาเพื่อดำน้ำดูปะการังดอกไม้ทะเล และปลาหลากสีสันที่สวยงาม นอกจากนั้นยังมีเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างเส้นทางเดินเรือ กระบี่-ภูเก็ต-หมู่เกาะพีพี ประกอบด้วยเกาะ 6 เกาะ คือ เกาะพีพีเล เกาะพีพีดอน เกาะยูง เกาะไม้ไผ่ เกาะบิดะนอก และเกาะบิดะใน ซึ่งแต่ละเกาะมีหาดทรายสวย น้ำทะเลใส

ดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่


อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์



  • ข้อมูลทั่วไป - ดอยอินทนนท์ - อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

    อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์             ป่าเมฆสูงสุดแดนสยาม
    แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า “ดอยหลวง” หรือ “ดอยอ่างกา” คำว่า ดอยหลวง หมายถึง ภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาลงไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า “ดอยอ่างกา” เมื่อครั้งที่พื้นที่ป่าไม้ทางภาคเหนือ ยังอยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครอบครองนครต่างๆ นั้นในสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์เป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของป่าไม้เป็นอันมาก โดยเฉพาะ “ดอยหลวง” พระองค์มีความหวงแหนเป็นพิเศษ ขณะที่ยังมีพระชนม์อยู่ได้สั่งไว้ว่า หากสิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ขอให้แบ่งเอาอัฐิส่วนหนึ่งไปบรรจุไว้บนยอดดอยหลวงด้วย ต่อมาคำว่าดอยหลวงก็ถูกเปลี่ยนเป็น “ดอยอินทนนท์” ตามพระนามของเจ้าผู้ครองนครนั้น และเมื่อขึ้นไปบนยอดเขาสูงนี้ จะเห็นสถูปบรรจุพระอัฐิของพระเจ้า อินทรวิชยานนท์ประดิษฐานอยู่





  • อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 482 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม อำเภอจอมทอง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความสูงตั้งแต่ 400-2,565 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพป่ามีหลายประเภททั้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา โดยเฉพาะป่าดิบเขาบนยอดดอยสูงสุด นับเป็นธรรมชาติที่โดดเด่นที่สุดนอกจากนี้บนยอดดอยยังพบพืชจากเขตอบอุ่น เช่น กุหลาบพันปี บัวทอง ต่างไก่ป่า ฯลฯ และตามหน้าผาพบป่ากึ่งอันไพน์ ซึ่งเป็นสังคมพืชที่หาดูได้ยากในเมืองไทย ดอยอินทนนท์เป็นศูนย์รวมของนกป่าเกือบ 400 ชนิด โดยเฉพาะนกหายากหลายชนิดที่อาศัยในที่สูง เช่น นกปีกแพร นกกระทาดง นกศิวะ ฯลฯ ในจำนวนนี้มีมากกว่า 100 ชนิด ที่เป็นนกอพยพย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยบนดอยอินทนนท์ในช่วงฤดูหนาว หลายชนิดพบได้ยากในพื้นที่อื่น เช่น นกเดินดง นกจับแมลง นกจาบปีกอ่อน นกเขน ฯลฯ


    อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์และป่าเตรียมการสงวนป่าจอมทอง อำเภอจอมทอง ป่าแม่แจ่ม และป่าแม่ขาน-แม่วาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การสงวนและคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ. 2497 และตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 โดยออกเป็นกฎกระทรวงฉบับที่ 103 (พ.ศ. 2502) ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์นี้ต่อมาได้ถูกกำหนดให้เป็น 1 ใน 14 ป่า ที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการสำรวจและจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรก ตามนโยบายของรัฐบาลในด้านการอนุรักษ์ การป้องกันและดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ และเพื่อการนำเอาสภาพป่าและสภาพภูมิประเทศต่างๆ ของพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่มาใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านธรรมชาติวิทยาและชีววิทยา


    กองบำรุง กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 119/2508 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 (ขณะนั้นเป็นหมวดอุทยานแห่งชาติ สังกัดกองบำรุง) ให้ นายนิพนธ์ บุญทารมณ์ นักวิชาการป่าไม้ตรีไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น และเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2515 นายปรีดา กรรณสูต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีบัญชาให้ นายอุดม ธนัญชยานนท์ นักวิชาการป่าไม้โท ทำการสำรวจทางเฮลิคอปเตอร์เพื่อจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติตามมติคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2515 ปรากฏว่า ป่าดอยอินทนนท์ มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสภาพทิวทัศน์และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม และเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับศูนย์อำนวยการร่วมฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กห 0312/4757 ลงวันที่ 12 เมษายน 2515 เสนอจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ ให้กำหนดป่าดอยอินทนนท์เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และสภาบริหารคณะปฏิวัติได้มีมติเมื่อวันที่ 27 เมษายน2515 อนุมัติหลักการให้ดำเนินการ กรมป่าไม้จึงดำเนินการจัดตั้งบริเวณที่ดินป่าดอยอินทนนท์ ในท้องที่ตำบลบ้านหลวง ตำบลสบเตี้ยะ ตำบลสองแคว ตำบลยางคราม อำเภอจอมทอง ตำบลแม่วิน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 168,750 ไร่ หรือ 270 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 223 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 148 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 6 ของประเทศ

    กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงดำเนินการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติทั้ง 3 ป่า จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกำหนดบริเวณป่าดอยอินทนนท์ ในท้องที่ตำบลแม่นาจร ตำบลช่างเคิ่ง ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม ตำบลแม่วิน ตำบลทุ่งปี้ อำเภอสันป่าตอง และตำบลสองแคว ตำบลยางคราม ตำบลบ้านหลวง ตำบลสบเตี้ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 62 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รวมเนื้อที่ 301,500 ไร่ หรือ 482.40 ตารางกิโลเมตร โดยให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 223 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515
    ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

    ภูชี้ฟ้า

    ภูชี้ฟ้า



             ประวัติ ภูชี้ฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกดอยผาหม่น ที่เป็นพรมแดนไทย-ลาวด้าน จ.เชียงราย-พะเยา ลักษณะเป็นหน้าผาหินตั้ง อยู่บนเส้นกั้นพรมแดนพอดีในอดีต เป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของ พคท. ด้วยสภาพภูมิประเทศที่สูงชันจึงเป็นฐานที่มั่นที่สำคัญ ชาวลาวและชาวไทย ในพื้นที่เรียกผาหินที่ชี้เหยียดตรงขึ้นไปบนฟ้าว่าภูฟ้า เมื่อปัญหาด้านความมั่นคงคลี่คลาย มีการตัดถนนขนานแนวชายแดนไทย-ลาว จากบ้านผาตั้ง ภูชี้ฟ้า ไปถึง อ.เชียงคำ ภูชี้ฟ้าจึงเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม บนยอดภูชี้ฟ้า เป็นจุดที่ยื่นจากแนวเขตพรมแดน จึงไม่สามารถระบุชัดได้ว่า อยู่ในเขตไทยหรือลาว แต่ทางขึ้นสู่ยอดภูชี้ฟ้านั้นอยู่ในเขตไทย เคยมีการปักธงชาติไทยบนปลายสุดของหน้าผา แต่ในวันถัดมา ทหารลาวก็จะนำธงลาวมาปักเคียงคู่กันด้วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย
    จึงห้ามนักท่องเที่ยวพักแรมบนภูชี้ฟ้า

                                                                       


    วนอุทยานภูชี้ฟ้า

    อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หรือพื้นที่ป่าโซน C ตามแผนที่ ZONING เนื้อที่ที่สำรวจและ
    เห็นควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน ประมาณ 2,500 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งจัดตั้งเป็น
    วนอุทยานเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
    - ทิศเหนือ จดทางหลวงจังหวัดสาย 1093
    - ทิศใต้ จดสันเขา
    - ทิศตะวันออก จดสันเขา / ชายแดนไทย – สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
    - ทิศตะวันตก จดทางหลวงจังหวัดสาย 1093 ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ วนอุทยาน
    เป็นยอดเขาสูงในเทือกเขาดอยผาหม่น ติดชายแดนไทย – สาธารณรัฐประชาธิปไตย
    ประชาชนลาว สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,200 เมตร ถึง 1,628 เมตร จุดสูงสุดคือ
    บริเวณจุดชมวิว มีความลาดชันเฉลี่ยทั่วพื้นที่ประมาณ 40 เปอร์เซนต์

    แหล่งท่องเที่ยว: ภูชี้ฟ้า เป็นยอดเขาสูงที่สุดในเทือกเขาดอยผาหม่น สูงจากระดับน้ำทะเล
    1,628 เมตร ด้านที่ติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีหน้าผาสูงชัน เป็นจุดชมวิว
    ที่สวยที่สุด ในฤดูหนาวจะมีทิวทัศน์สวยงามเป็นพิเศษ นักท่องเที่ยวส่วนมากจะมาค้างแรม
    บริเวณบ้านร่มฟ้าทองทางห่างจากจุดชมวิว ประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วจะเดินขึ้นภูชี้ฟ้า
    เพื่อไปชมวิวตอนเช้ามืด ระหว่างทางจะพบแปลงปลูกป่านางพญาเสือ ออกดอกบานสะพรั่ง
    สวยงาม (เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์) และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ต้นเสี้ยวดอกขาวรอบ
    ภูชี้ฟ้าจะออกดอกบานเต็มเชิง เขา กิจกรรม : ชมพรรณไม้ แค็มป์ปิ้ง ชมทิวทัศน์ (ผาชี้ฟ้า
    เป็น หน้าผาหินที่มีลักษณะโดดเด่น คือ คล้ายนิ้วชี้ที่ชี้ตรงออกไปยังทิศตะวันออก ภูชี้ฟ้า
    อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,628ม. จากระดับน้ำทะเล หน้าผาหินเป็นทางลาดชัน ปก
    คลุมด้วยหญ้า ไม้พุ่ม และโขดหิน ไม่มีไม้ใหญ่ขึ้นเลย สามารถเดินลัดเลาะไปจนถึงสุด
    ปลายของหน้าผา ที่ยื่นออกไปได้ แต่จุดที่นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายภาพ จะเป็นหมู่หินใหญ่
    ริมหน้าผา ก่อนถึงปลายสุดของภูชี้ฟ้าประมาณ 300 ม. ชมทะเลหมอก จาก ภูชี้ฟ้า
    สามารถมองลงไปเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในหุบเขา ในเขต ต.เชียงตอง ฝั่งลาว และเทือกเขา
    สลับซับซ้อน ไกลออกไปลิบๆ คือแม่น้ำโขง ที่ไหลขนานไปกับเทือกดอยผาหม่น
    ในช่วงเช้าตรู่ หุบเขาเบื้องล่างจะปกคลุมด้วยสายหมอก ทิวทัศน์จะยิ่งงดงาม
    เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ภูชี้ฟ้าหันไปทางทิศตะวันออก จึงเป็นจุดชมพระอาทิตย์ที่ได้รับ
    ความนิยมมาก นักท่องเที่ยว จะออกจากที่พัก เริ่มเดินเท้าขึ้นไปยังจุดชมวิว ตั้งแต่ก่อนสว่าง)


    แสงแรกสำหรับวันใหม่