เที่ยวไทย

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ลำปาง

ลือเลื่องเมือง “ลำปาง” ท่องถิ่นรถม้า-ชามตราไก่ สัมผัสอัศจรรย์เงาพระธาตุ ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง






 วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดคู่บ้านคู่เมืองลำปาง

   “ลำปาง” เป็นดินแดนอารยธรรมล้านนาที่รุ่งเรืองมาแต่โบราณ ชื่อเรียกเมืองลำปางนั้นมีหลายชื่อจากหลายตำนานความเป็นมา ทั้งคำว่า “เขลางค์นคร” ซึ่งตั้งตามชื่อพรานเขลางค์ ผู้มีส่วนร่วมในการสร้างเมืองลำปาง ส่วนคำว่า “ละกอน” หรือ “ละคร” (นคร) นั้นเป็นชื่อสามัญของเมืองเขลางค์ที่นิยมเรียกกันอย่างแพร่หลาย คนในจังหวัดใกล้เคียงมักจะเรียกชาวลำปางว่า “จาวละกอน” ซึ่งหมายถึง ชาวนคร



       บ้างก็เรียกลำปางว่าเมือง “กุกกุฏนคร” ซึ่งหมายถึงเมืองไก่ขาว ตามตำนานว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาที่เมืองนี้ พระอินทร์เกรงว่าชาวเมืองจะตื่นไม่ทันทำบุญกับพระพุทธเจ้า จึงแปลงกายเป็นไก่สีขาวขันปลุกชาวเมืองให้ตื่น ด้วยเหตุนี้ไก่ขาวจึงเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของเมืองลำปาง



 เงาพระธาตุหัวกลับ สิ่งมหัศจรรย์ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง

ส่วนคำว่า “ลำปาง” นั้นหมายถึงไม้ป้าง ตำนานเล่าว่าเป็นไม้ข้าวหลามที่ลัวะอ้ายกอนใช้หาบกระบอกน้ำผึ้ง มะพร้าว มะตูม มาถวายพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จมายังบริเวณนี้ และทรงทำนายว่าสถานที่นี่จะเจริญรุ่งเรืองเป็นเมืองเมืองหนึ่งในอนาคตชื่อ ว่าเมืองลัมภางค์



       ไม่ว่าจะเรียกด้วยชื่อใดก็ตาม ลำปางก็ยังคงเป็นเมืองน่าเที่ยวและมีของดีหลายอย่างซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ เลื่องลือ ตามคำขวัญที่ว่า “ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโล


















พระแก้วมรกตจำลองบนหลังรูปปั้นช้างที่วัดพระแก้วดอนเต้า

ส่วนคำว่า “ลำปาง” นั้นหมายถึงไม้ป้าง ตำนานเล่าว่าเป็นไม้ข้าวหลามที่ลัวะอ้ายกอนใช้หาบกระบอกน้ำผึ้ง มะพร้าว มะตูม มาถวายพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จมายังบริเวณนี้ และทรงทำนายว่าสถานที่นี่จะเจริญรุ่งเรืองเป็นเมืองเมืองหนึ่งในอนาคตชื่อ ว่าเมืองลัมภางค์



       ไม่ว่าจะเรียกด้วยชื่อใดก็ตาม ลำปางก็ยังคงเป็นเมืองน่าเที่ยวและมีของดีหลายอย่างซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ เลื่องลือ ตามคำขวัญที่ว่า “ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโล


















 วัดปงสนุก อีกหนึ่งวัดแห่งเมืองลำปางที่ไม่ควรพลาดชม

และสิ่งมหัศจรรย์ในวัดพระธาตุลำปางหลวงที่ไม่ควรพลาดชม ก็คือ “พระธาตุหัวกลับ” หรือ “เงาพระธาตุ” ในมณฑปพระพุทธบาท ที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์กล้องรูเข็ม ซึ่งรูที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์อันน่าอัศจรรย์นี้พบเจอโดยบังเอิญเมื่อพระ ภิกษุเข้าไปทำความสะอาดในมณฑปเมื่อปี 2541



       “วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม” ในอำเภอเมือง เป็นอีกหนึ่งวัดเก่าแก่อายุกว่า 500 ปี วัดแห่งนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต โดยเมื่อ พ.ศ. 1979 พระเจ้าสามฝั่งแกน เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้จัดขบวนช้างไปรับพระแก้วมรกตมาจากเชียงราย เพื่อจะอัญเชิญไปประดิษฐานยังนครเชียงใหม่ เมื่อถึงทางแยกเข้านครลำปาง ช้างก็ตื่นวิ่งเข้าไปในนครลำปาง ในที่สุดพระเจ้าสามฝั่งแกนจึงต้องยินยอมให้พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระแก้วดอนเต้าเป็นเวลาถึง 32 ปี ก่อนที่จะมีผู้อัญเชิญไปประดิษฐานยังเชียงใหม่ ปัจจุบันทางวัดได้สร้างรูปปั้นช้างเชือกที่วิ่งนำพระแก้วมรกตเข้ามายังลำปาง โดยมีองค์พระแก้วมรกตจำลองประดิษฐานบนหลังช้างให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชา



 ศาลเจ้าพ่อประตูผา เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวลำปาง

มาชมวัดอีกแห่งหนึ่งที่มีความน่าสนใจไม่น้อย นั่นก็คือ “วัดปงสนุก” ในอำเภอเมือง วัดแห่งนี้เป็นวัดสำคัญคู่ลำปางมาเป็นเวลานาน สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะเคยเป็นศูนย์กลางเวียงละกอนสมัยล้านนารุ่งเรือง วัดปงสนุกมีม่อนดอยเป็นจุดไฮไลท์ มีลักษณะเป็นเนินเขาพระสุเมรุจำลอง สร้างตามคติจักรวาล ม่อนดอยเป็นที่ตั้งของวิหารพระเจ้าพันองค์ สร้างด้วยไม้ กลางวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสี่องค์หันพระพักตร์ออกสี่ทิศ



       วัดปงสนุกยังเป็นแหล่งรวมข้าวของทรงคุณค่าทางด้านศิลปวัฒนธรรมมากมายที่ทาง วัดได้นำมารวมไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ อีกทั้งยังอนุรักษ์งานศิลปสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ได้แก่ พระธาตุศรีจอมไคล และวิหารพระเจ้าพันองค์ โดยได้รับการบูรณะอย่างถูกหลักวิชาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านปงสนุก จนเมื่อปี 2551 ทางวัดได้รับรางวัลจาก UNESCO ด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม (Award of Merit) ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของชุมชนปงสนุกและชาวลำปางเป็นอย่างยิ่ง



 สถาน ที่อีกแห่งหนึ่งที่คนลำปางให้ความเคารพนับถือก็คือ “ศาลเจ้าพ่อประตูผา” ในอำเภองาว เจ้าพ่อประตูผาเป็นยอดนักรบแห่งเมืองลำปางที่ต่อสู้กับพม่าเพื่อปกป้องแผ่น ดินของตนด้วยความกล้าหาญจนเสียชีวิตลง ณ ที่นี้ และในบริเวณนี้ซึ่งเป็นเทือกเขาสูงชันยังมี “ภาพเขียนสีโบราณประตูผา” ซึ่งเป็นแหล่งภาพเขียนสีที่มีจำนวนมากและมีความยาวต่อเนื่องมากที่สุดในภาค เหนือ มีอายุราว 3,000 ปี เก่าแก่พอๆ กับภาพเขียนสีที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี












รถม้า สัญลักษณ์ของลำปาง

  ไหว้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองลำปางกันไปแล้ว มาว่ากันด้วยเรื่องเอกลักษณ์ของเมืองลำปางอย่าง “รถม้า” กันบ้าง รถม้าในลำปางมีความเป็นมายาวนานกว่าร้อยปี โดยในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงสั่งรถม้าเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมากเพื่อใช้เป็นรถหลวง จนเมื่อรถยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาท รถม้าจึงได้ถูกกระจายออกจากกรุงเทพฯ ต่อมาเมื่อมีการวางรางรถไฟขึ้นมาจนถึงลำปาง รถม้าจึงกลายเป็นยานพาหนะรับส่งผู้โดยสารจากสถานีรถไฟจังหวัดลำปางเข้าสู่ ตัวเมือง เมื่อเวลาผ่านไปการคมนาคมเจริญขึ้นทำให้รถม้าค่อยๆ น้อยลงแต่ก็ยังคงมีเหลืออยู่ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสบรรยากาศเก่าๆ กัน












ช้างน้อยแสนฉลาดวาดรูปได้สวยที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย

ที่ เมืองนี้นอกจากจะฝึกม้าไว้ใช้แล้ว ยังสามารถฝึกช้างให้เชื่องได้อีกต่างหาก เพราะในสมัยก่อนลำปางเคยเป็นแหล่งทำไม้ในอดีต จึงมีการคล้องช้างมาไว้ใช้ลากซุง คนลำปางกับช้างจึงมีความผูกพันกันมาจนปัจจุบัน โดยสถานที่ฝึกช้างที่มีชื่อเสียงของลำปางก็คือ “สถาบันคชบาลแห่งชาติ” หรือ “ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย” ในอำเภอห้างฉัตร ซึ่งเป็นศูนย์รวมภูมิปัญญาช้างไทยแบบครบเครื่อง มีทั้งโรงเรียนฝึกควาญช้าง ฝึกลูกช้าง โรงพยาบาลช้าง มีศูนย์ข้อมูลความรู้ ข้อมูลวิจัย นิทรรศการเกี่ยวกับช้าง อีกทั้งยังมีกิจกรรมการท่องเที่ยวเกี่ยวกับช้างไม่ว่าจะเป็นการแสดงช้าง บริการขี่ช้างท่องเที่ยว ขี่ช้างไปแคมปิ้งในป่า ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น